Learning
Log out classes 15thSeptember
2015
กระบวนการคิดของมนุษย์
คุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของมนุษย์คือ “ผู้รู้คิด” จากการรู้คิดนี้เองนำไปสู่กระบวนการคิดเริ่มจากการตีความ
พิจารณา ไตร่ตรอง สิ่งที่ได้จาก ผัสสะ
แล้วสรุปเป็นความรู้อย่างอื่นอย่างใดแล้วเก็บความรู้สึกสะสมนั้นไว้เพื่อใช้เป็นพื้นฐานหรือความรู้เดิมที่ใช้ในการเปรียบเทียบและตัดสินใจสรุปความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น
เช่น เด็กที่เข้าเรียนในชั้นเรียนเป็นครั้งแรกในชีวิต
มีหญิงสาวตัวผอมๆคนหนึ่งเข้ามาอยู่หน้าชั้นเรียนแล้วบอกตัวเธอเป็นครู
แล้วก็สอนให้อ่านหนังสือประสบการณ์จากตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง
ผ่านกระบวนการคิดเกิดความเข้าใจสรุปได้ว่าครูคือหญิงสาวตัวผอมๆที่ทำหน้าที่สอนหนังสือและเรียกว่าครูเช่นกัน
เป็นจินตภาพอีก 1 ครั้งและจะทำการเปรียบเทียบกับจินตภาพเดิม
เห็นความเหมือนและแตกต่างเกิดความเข้าใจว่าผู้ซึ่งเป็นครูนั้นอาจเป็นผู้หญิงหรือชายก็ได้
แต่ทำหน้าที่สอนหนังสือเหมือนกัน
กระบวนกาคิดของมนุษย์มิได้หยุดเพียงการสร้างมโนภาพ
ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ที่เกินความกว้างกว่าความรู้เดิมเท่านั้น
แต่ยังเก็บความรู้นั้นเข้าไว้ในความทรงจำเพื่อใช้เป็นความรู้เปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมที่ได้รับรู้
ความรู้ที่ถูกเก็บไว้ในความทรงจำนั้นจะกลายเป็นความรู้เดิมที่มีความหมายกว้างๆเมื่อมีการรับรู้ใหม่เข้ามา
กระบวนการคิดของมนุษย์จะตีความพิจารณาไตร่ตรอง
เปรียบเทียบแล้วทำการอนุมานสรุปออกมาเป็นความรู้ที่เกิดจากความรู้เดิมมาเป็นหลักฐานสนับสนุน
เช่น ความรู้ที่ว่า “ครูคือผู้สอนหนังสือ” ความทรงจำเก็บไว้เป็นความรู้เดิมที่ใช้เปรียบเทียบความรู้ใหม่
สรุปได้ว่ากระบวนการคิดของมนุษย์
เริ่มจากการตีความพิจารณาไตร่ตรอง ผัสสะที่ได้รับทางหู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ
เกิดความเข้าใจผัสสะนั้น สรุปออกมาเป็นความรู้เฉพาะครั้ง
แล้วนำความรู้หลายครั้งมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ สรุปออกมาเป็นความรู้ที่เป็นส่วนรวม
ทั้งยังนำความรู้ที่ใช้เก็บไว้ในความทรงจำเพื่อนำมาคิดอนุมานใช้ในการสรุปหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมโดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ตรงๆแต่อาศัยการคิดที่เกี่ยวเนื่องกันจะเห็นได้จากสรุปหาความรู้ใหม่เพิ่มแต่ละครั้งจะต้องนำความรู้เดิมมาเป็นหลักฐานสนับสนุนเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น