Cool Blue Outer Glow Pointer
ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของน็อต ปฏิภาณ ชมพัฒน์ครับ รหัส 5681114012

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Introduction of Translation

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อโครงสร้าง
ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อโครงสร้าง
                คำว่าโครงสร้าง(structure) ซึ่งพจนานุกรม The American Heritage Dictionary of the English Language (1980:1278) ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
1. a complex entity  (ภาษามีโครงสร้าง)
2. The configuration of element (ภาษามีส่วนประกอบมากมาย)
3. The interrelation of parts or the principle of organization. (ส่วนประกอบในภาษามีความสัมพันธ์กัน หรือมีการจัดระเบียบของความสัมพันธ์)
              โครงสร้างเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเรียนรู้ภาษา  หากเราไม่มีความรู้ในเรื่องของโครงสร้างทางภาษาเราก็จะไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้  หรือแม้ว่านักแปลมีความรู้เรื่องคำศัพท์แต่ไม่เข้าใจโครงสร้างภาษา ก็จะทำให้การแปลล้มเหลว  ซึ่งพบว่าปัญหาทางโครงสร้างเป็นปัญหาหลักของผู้แปล
ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
            ชนิดของคำเป็นส่วนที่สำคัญของโครงสร้างภาษาอังกฤษ  เมื่อเราสร้างประโยคเราจะต้องเลือกชนิดของคำให้ตรงกับหน้าที่ทางไวยากรย์ จึงจะทำให้ประโยคนั้นเกิดความหมายที่ถูกต้องตามไวยากรย์  อย่างไรก็ตามเราก็ควรคำนึงถึงการนำคำไปใช้จริงด้วย
1. คำนาม  จะมีความสำคัญเฉพาะในภาษาอังกฤษ  ในทางไวยากรย์เป็นลักษณะที่สำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้
1.1) บุรุษ(person) เป็นประเภทที่บอกว่าคำนามหรือคำสรรพนามหมายถึงผู้พูดบุรุษไหน  ซึ่งมีการแยกตามบุรุษที่1 2 และ3 แต่ในภาษาไทยไม่มี
1.2) พจน์ (number) เป็นคำที่บอกจำนวน ในภาษาอังกฤษมี Determinerได้แก่ a/an นำหน้าคำนาม    เอกพจน์  และการเติม –s ที่ท้ายท้ายศัพท์เพื่อทำเป็นพหูพจน์ แต่ในภาษาไทยจะไม่มี เพราะถือว่าหากใช้พจน์ก็จะทำให้เป็นภาษาไทยที่ไม่ถูกต้อง
1.3) การก (case) เป็นตัวชี้ว่าคำนามนั้นมีหน้าที่อะไร  มีความสัมพันธ์กับคำอื่นอย่างไร เช่น    The dog bit the boy. (มี dog เป็นผู้กระทำ) ซึ่งต่างกับ  The boy bit the dog.(มีdogเป็นผู้ถูกกระทำ)  นอกจากนี้ยังมีการกที่แสดงความเป็นเจ้าของ จะมีการเติม 's เช่น The  teacher 's book.(หนังสือของครู)   ซึ่งในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยคำเพื่อแสดงการก  แต่จะเรียงคำเหมือนการกในภาษาอังกฤษแต่การกเจ้าของในภาษาไทยต่างกับภาษาอังกฤษ เช่น  “หนังสือครู” กับ “ครูหนังสือ”
1.4) นามนับได้ กับนามนับไม่ได้ (countable and un countable noun )  ในภาษาอังกฤษนามนับได้เอกพจน์ใช้ a/an และเติม 's กับนามนับได้พหูพจน์  ส่วนนามที่นับไม่ได้ก็ไม่ต้องเติม คำเหล่านี้  เช่น  a grass of water  ส่วนในภาษาไทยคำนามทุกคำสามารถนับได้ เพราะมีการใช้คำลักษณะนาม เช่น แมว 1 ตัว  บ้าน 1 หลัง เป็นต้น
1.5) ความชี้เฉพาะ (definiteness) คำเหล่านี้จะมีความสำคัญในภาษาอังกฤษ  เป็นการแยกความแตกต่างระหว่างคำนามชี้เฉพาะ(definiteness)กับคำนามไม่ชี้เฉพาะ(indefiniteness)  โดยใช้  a/an และ the ตามลำดับ เช่น The  man came to see you this morning. และ A man came to see you this morning.   ส่วนในภาษาไทยนั้นจะไม่มีการใช้คำเหล่านี้  ดังนั้นเมื่อคนไทยแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษจะต้องระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ
2.  คำกริยา  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของประโยคและมีความซับซ้อน เพราะมีเรื่องไวยากรณ์มาเกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1) กาล (tense)  ในภาษาอังกฤษต้องใช้บอกว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต  แม้ว่าจะมีความหมายเหมือนกัน  เช่น  Mary likes him.กับ Mary liked him. ดังนั้นกาลจึงมีความจำเป็นในภาษาอังกฤษ  แต่สำหรับในภาษาไทยไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญ
2.2) การณ์ลักษณะ(aspect)  บอกลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์  ในภาษาอังกฤษใช้  (progressive aspect = V. to be+ present participle)  เช่น This time last year I was climbing in the Alps.  หรือใช้ (perfective aspect = V. to be+ past  participle) เช่น He has been unhappy for the  last  three days  and  he still  looks miserable. การณ์ลักษณะในภาษาอังกฤษจะติดกับกาลเสมอและถ้าหากประโยคมีกริยาหลายตัว  กาลของกริยาจะต้องมีความสัมพันธ์กันในเรื่องของเวลาด้วย  ส่วนในภาษาไทยถ้าเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องใช้คำว่า “กำลัง” หรือ “อยู่”  เช่น ตอนนนี้เรากำลังรับประทานอาหารอยู่ 
                ดังนั้นในภาษาอังกฤษการณ์ลักษณะเป็นเรื่องสำคัญมาก  เพราะทุกประโยคจะต้องบอกเวลา  แต่ในภาษาไทยไม่มีความสำคัญเพราะผู้อ่านสามารถตีความจากบริบทนั้นๆได้
2.3) มาลา(mood)  ใช้กับคำกริยา เป็นตัวที่บอกว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร มีใช้แต่ในภาษาอังกฤษ เช่น เป็นประโยคสมมติที่เป็นไปได้หรือเป็นประโยคที่เปรียบเทียบบางสิ่งเสมือนอีกสิ่ง  จะไม่ใช้กริยารูปธรรมดาแต่จะมีการเปลี่ยนรูปคำกริยา เช่น I wish I could fly. (กริยารูปปกติคือ can)  ส่วนในภาษาไทยมาลาถูกแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์ ไม่เปลี่ยนกริยา เช่น น่าจะ  คงจะ บางที เป็นต้น
2.4) วาจก(voice)  บอกความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำโดยคำกริยา  ว่าเป็นประธานหรือกรรม เช่น Frogs'legs are eaten in  France. ส่วนในภาษาไทยคำกริยาจะไม่เปลี่ยนและในการแปลภาษาไทยกับอังกฤษ  ประโยคกรรมในภาษาอังกฤษไม่เหมือนกับประโยคกรรมในภาษาไทย เช่น The building was designed by a famous  architect.(อาคารหลังนี้ออกแบบโดยสถาปนิก) 
2.5) กริยาแท้กับกริยาไม่แท้(finite vs. non-finite) ในภาษาอังกฤษ ในหนึ่งประโยคจะมีกริยาแท้ได้ตัวเดียวเท่านั้นและสามารถมีกริยาไม่แท้ได้  ส่วนในภาษาไทยกริยาทุกตัวมีรูปเหมือนกัน ซึ่งในการแปลจากอังกฤษเป็นไทยนั้น  ผู้แปลต้องขึ้นต้นประโยคใหม่คือผู้แปลจะต้องทำกริยาไม่แท้ให้เป็นกริยาแท้ในประโยคใหม่
3. ชนิดของคำประเภทอื่น  นอกจากคำนามกับคำกริยาแล้ว ยังมีคำบุพบท (preposition)ซึ่งสามารถอยู่หลังวลีหรือประโยคได้  แต่ในภาษาไทยไม่มี  เช่น  I don't  have a chair to  sit on. แต่ในภาษาไทยคือ  ฉันไม่มีเก้าอี้ที่จะนั่ง  นอกจากนี้ยังมีคำ คุณศัพท์(adjective)ซึ่งต้องใช้คู่กับคำ V.to be  เช่น  He is clever.
หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
             หน่วยสร้าง (construction) เป็นหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง ได้แก่  หน่วยสร้างนามวลี (noun phrase construction)  หน่วยสร้างกรรมวาจก(passive construction)   หน่วยสร้างคุณานุประโยค(relative clause construction) เป็นต้น
2.1)หน่วยนามวลี (noun phrase construction) : ตัวกำหนด (determiner) + นาม (อังกฤษ)VS.นาม(ไทย)   นามวลีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนด เช่น My father is a lawyer.  ส่วนในภาษาไทยไม่มีคำประเภทนี้
2.2)หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย+ส่วนหลัก (อังกฤษ)vs.ส่วนขยาย(ไทย)  ในภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก  ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม  เมื่อเราแปลจากอังกฤษเป็นไทยถ้าส่วนขยายไม่ยาว  เราก็ย้ายแต่ส่วนขยายจากหน้าไปหลัง
2.3) หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive construction)  ในภาษาอังกฤษมีหน่วยสร้างเรียกว่า กรรมวาจก  คือ ประธาน / ผู้รับการกระทำ + กริยา  (V.to be + past participle + by + ผู้กระทำ)  แต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ ซึ่งในภาษาไทยจะเรียกว่า กรรตุวาจก  เช่น สนใจ ชอบ เป็นต้น
2.4) หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย)  ภาษาไทยเน้นtopic แต่ในภาษาอังกฤษเป็นภาษาเน้น

2.5) หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction)  จะไม่มีในภาษาอังกฤษ  เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาสองคำขึ้นไปมาเรียงต่อกัน เช่น เดิน- ไป-ดูหนัง  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น