บทที่1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีความสำคัญกับคนทั่วโลก เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับคนทั่วโลก ใช้ในด้านการพานิชย์ ธุรกิจ และเป็นภาษาปฏิวัติอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ดังนั้นเมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศ ทำให้การแปลมีความสำคัญมากขึ้น ผู้ที่ทำหน้าที่แปลจะต้องถ่ายทอดจากภาษาหนึ่งไปยังภาษาหนึ่งเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ โดยที่คนแปลต้องมีการคิดวิเคราะห์และตีความถ้อยคำที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จึงจะทำให้งานแปลมีประสิทธิภาพ
การแปลในประเทศไทย
การแปลเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชการที่5 ตอนที่พระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ และมีการแปลเอกสารต่างๆเพื่อติดต่อการค้า การแปลเริ่มมีบทบาทต่อประเทศไทยในช่วงของความก้าวหน้าวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ มีตัวแทนและที่ปรึกษาชาวต่างประเทศด้านต่างๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ การค้า เป็นต้น และมีการนำรายได้เข้าสู่ประเทศ อีกทั้งยังมีการแปลตำราต่างๆเป็นภาษาไทยอีกด้วย
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่
ผู้ที่แปลจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านวัฒนธรรม และมีการติดตามวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่อยู่ตลอด และต้องใช้เวลาให้คุ้มค่ากับการแปลด้วย
การสอนแปลในระดับมหาวิยาลัย
เป็นการสอนเกี่ยวกับไวยากรณ์ โครงสร้างภาษาอังกฤษ และการอ่านเพื่อความเข้าใจ
การแปลคืออะไร
การแปล เป็นการถ่ายทอดความคิดจากต้นฉบับออกเป็นภาษาที่ต้องการ โดยยังมีใจความครบสมบูรณ์ทุกประการ โดยมีศิลปะในการแปล ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถและความรู้ของผู้แปลด้วย
คุณสมบัติของผู้แปล
ผู้แปลต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้านภาษา สามารถถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ มีความเสียสละอดทน และมีความรับผิดชอบ
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1. เพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพ
2. เพื่อให้บรรลุตามทฤษฎีวิชาแปล และให้ผู้แปลเกิดทักษะด้านการอ่านและการเขียน
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในด้านภาษาและสามารถถ่ายทอดความคิดออกมาได้ครบถ้วน
4. เพื่อให้ผู้ที่เรียนแปลได้มีการเตรียมตัวก่อนที่จะไปประกอบอาชีพ
บทบาทของการแปล
ผู้แปลเป็นตัวกลางที่สำคัญในการแปลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
คุณสมบัติของนักแปล
1. คุณสมบัติส่วนตัว ได้แก่ มีใจรักงานแปล มีความสามารถในการอ่าน มีความมุ่งมั่นตั้งใจและมีจรรยาบรรณของนักแปล
2. ความรู้ มีความรู้ในภาษาทั้งสอง ชอบค้นหาความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ มีความรู้เฉพาะด้านในงานที่แปล และมีความรู้ภูมิหลังทางวัฒนธรรมประเพณีของชาติที่เป็นเจ้าของภาษา
3. ความสามารถ มีความสามารถในการตีความภาษาต้นฉบับ การส่งสาร และมีความคิดริเริ่ม
4. ประสบการณ์ มีการฝึกฝนการแปลอยู่เสมอ มีความรู้ความเข้าใจในงานที่แปลและรู้จักหาจุดดีและจุดบกพร่องจากงานแปลของคนอื่นๆ
ลักษณะของงานแปลที่ดี
งานแปลควรมีเนื้อหาที่เป็นจริงตามต้นฉบับและใช้ภาษาสละสลวยในการแปล
ลักษณะของงานแปลที่ดี
งานแปลที่ดีต้องมีความหมายตรงตามต้นฉบับและใช้ภาษาที่สละสลวย
การให้ความหมายในการแปล
เป็นการแปลที่ใช้รูปแบบประโยคต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน และ การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ
การใช้ปัจจุบันกาล มี 2 รูปแบบ คือ ปัจจุบันกาล(Simple Present) และอนาคตกาล(Progressive Present) ซึ่งความหมายของปัจจุบันกาลมีโครงสร้างประโยค คือ เป็นการกระทำที่ทำเป็นนิสัยเป็นกฎธรรมชาติ เป็นสถานภาพของปัจจุบัน อนาคตกาลและเป็นปัจจุบันกาล ซึ่งการใช้ปัจจุบันกาลในการแปล ผู้แปลต้องเปรียบเทียบโครงสร้างภาษาไทย เพื่อดูส่วนที่เหมือนและต่างกัน
การแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย ต้องคำนึงถึงความหมายดังนี้
1. อนาคตกาล(The Progressive Present) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาลกับอนาคตกาล มีคำบอกเวลาได้แก่ always และ often
2. โครงสร้างของไวยากรณ์และโครงสร้างในประโยคอื่นๆมีความซับซ้อนมาก
3. ศัพท์เฉพาะของเรื่องที่แปล
4. ตีความทำนาย จะต้องแปลเป็นภาษาทั่วๆไป
การแปลกับการตีความจากบริบท
การแปลความหมายโดยดูจากบริบทของข้อความ ซึ่งต้องแปลออกมาเป็นความคิดรวบยอดก่อน(concept) แล้วจึงสรุปเป็นความหมายออกมา
การวิเคราะห์ความหมาย
มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบของความหมาย
1. คำศัพท์ คำศัพท์แต่ละคำมีความหมายต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทต่างๆ
2. ไวยากรณ์ เป็นแบบแผนจัดเรียงคำในภาษา
3. เสียง ประกอบด้วยเสียงสระและเสียงพยัญชนะ
ความหมายและรูปแบบ
1.ในแต่ละภาษามีหลายความหมาย
2. หนึ่งรูปแบบอาจมีหลายความหมาย ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
ประเภทของความหมาย
1. ความหมายอ้างอิง เป็นการบอกความหมายโดยตรง เช่น ความคิด มโนภาพ เป็นต้น
2. ความหมายแปล เป็นความรู้สึกทางอารมณ์ทั้งทางบวกและลบ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาแบะภูมิหลังของคน
3. ความหมายตามบริบท มีหลายความหมาย ดูจากบริบทแวดล้อม
4. ความหมายเชิงอุปมา เป็นการเปรียบเทียบ ได้แก่ สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ(topic) สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ(illustration)และประเด็นของการเปรียบเทียบ(point of similarity)
การเลือกบทแปล
การเลือกบทแปลต้องคำนึงถึงความรู้ด้านทักษะทางภาษาที่ผู้เรียนจะได้รับและได้มีโอกาสได้รู้คาวมบกพร่องต่างๆในงานแปลของตน
เรื่องที่จะแปล
ควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ได้รับการยอมรับในสาขาวิชานั้นๆมีการเรียบเรียงที่เป็นสากลและใช้ภาษาแปลได้อย่างถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น